Week7

กิจกรรมจิตศึกษากับการบ่มเพาะปัญญาภายใน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 4 ปีการศึกษา 2558

        วัน
รูปแบบกิจกรรม
เป้าหมาย
กิจกรรม
สื่อ  อุปกรณ์
7
จันทร์

วัสดุธรรมชาติ  สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ
กำกับสติ  มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ใคร่ครวญ  เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง ผู้อื่น หรือสิ่งของ
ชื่อกิจกรรม : ไม่มีหินก้อนใดโง่
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,งูใหญ่กับกระต่าย,นับนิ้วสลับข้าง 1 - 10) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม : ครูนำตะกร้าที่ใส่ก้อนหิน และมีกระดาษครึ่ง A4 มาวางไว้ตรงหน้า ครูกระตุ้นคำถาม เช่น นักเรียนเห็นอะไร? / รู้สึกอย่างไรเมื่อเห็น? /ถ้าจะเปรียบเทียบนักเรียนจะเปรียบเทียบก้อนหินกับตนเองอย่างไรบ้าง?
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเพิ่มเติม เช่น นักเรียนคิดเห็นอย่างไรจากประโยคที่ว่า “ไม่มีหินก้อนใดโง่”
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ครูส่งหินและกระดาษให้นักเรียนหยิบหินและกระดาษวาดภาพแต่งเรื่องราวจากหิน(ในขณะส่งและรับจะไหว้และรับไหว้เพื่อนๆอย่างนอบน้อม)
นักเรียนแต่ละคนเล่าถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม ไม่มีหินก้อนใดโง่”
ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคน
ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
ถั่ว / ใบไม้ /หิน
อังคาร

บูรณาการวิชาต่างๆ เช่น  ไทย 
คณิต  อังกฤษ
ใคร่ครวญ ทบทวน เชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ชื่อกิจกรรม : ไขปริศนาหาคำตอบ
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,นิ้วโป้งสลับก้อย,นับนิ้วสลับข้าง1 - 10) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม : ครูอธิบายข้อตกลงในการทำกิจกรรมไขปริศนาหาคำตอบ
ครูเตรียมสลากรายชื่อและสลากคำถามวางไว้ตรงกลางวงกลม แล้วขออาสานักเรียนสุมจับคำถามและอ่านคำถามให้ครูและเพื่อนฟัง เช่น เช่น ถ้าคนได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี คุณจะพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนต่างๆอย่างไร , ถ้าคุณป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 1 เดือนเท่านั้น คุณคิดว่าจะทำอะไรบ้าง และเพราะเหตุใดจึงเลือกทำสิ่งนั้น , ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านคุณจะบริหารจัดการอย่างไร ให้เงินนั้นประโยชน์ที่สุด
 หลังจากนั้นจึงสุ่มจับรายชื่อนักเรียนที่ได้รับสิทธิ์ในการไขปริศนาตอบคำถาม (หากตอบไม่ได้จริงๆนักเรียนสามารถขอให้เพื่อนมาชวยตอบคำถามได้ 1 คน)
เมื่อตอบคำถามเสร็จแล้ว ผู้ที่ตอบถามจะได้สิทธิ์ในการจับสลากเลือกคำถามและอ่านคำถามให้ครูและเพื่อนฟัง รวมทั้งได้สิทธิ์ในการจำสลากเลือกผู้ที่จะตอบคำถามในข้อต่อไป
ทำกิจกรรมต่อเนื่องไปจนครบทุกคนและครู
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม ไขปริศนาหาคำตอบ”
ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคนอีกครั้ง
ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
- สลากคำถามที่สร้างสรรค์จำนวน30 คำถาม
- สลากรายชื่อนักเรียน
พุธ

ศิลปะ  ดนตรี
เชื่อมโยง สร้างสรรค์ ใคร่ครวญ จินตนาการ
ชื่อกิจกรรม ดนตรีดลใจ
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,นิ้วโป้งสลับก้อย,ขนมจีบ กระต่ายน้อย) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม : ครูเล่าประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับดนตรีและบทเพลงที่เคยแต่ง รวมทั้งแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง
ครูนำนักเรียนร้องเพลงที่ครูแต่งเอง ซึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติและทำกิจกรรมเลียนแบบเสียงธรรมชาติประกอบเพลง
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม ดนตรีดลใจ”
ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคน
ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
เพลงรักธรรมชาติ
กีต้าร์
พฤหัสบดี

โยคะ
มีสติอยู่กับตัวเองโดยการกำกับลมหายใจ


ชื่อกิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม 
: ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ขั้นกิจกรรม 
: ทำท่าโยคะโดยกำหนดลมหายใจ ลำดับจาก ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน โดยกำหนดลมหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ขั้นจบ 
: ครูมีนิทานสั้นๆเล่าให้นักเรียนฟังและนับให้สัญญาณเพื่อให้นักเรียนตื่นขึ้นอย่างมีสติจากนั้นครูพูดให้ คำชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคน
ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
แปลงนาโรงเรียน
แผ่นวงกลมวงจรทุ่งนานอกะลา
ศุกร์

วรรณกรรม 
นิทาน  เรื่องเล่า 
 ประสบการณ์ 
- สมาธิจดจ่อ
- เห็นคุณค่า และเห็นความเชื่อมโยงของตนเองกับทุกสรรพสิ่ง
ชื่อกิจกรรม : สัญลักษณ์แทนตัวเอง
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,นิ้วโป้งสลับก้อย,นับนิ้วสลับข้าง1 - 10) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าเรื่องเชื่อมโยงสู่กิจกรรมเกี่ยวกับสัญลักษณ์แทนตัวเอง
- ครูอธิบายกิจกรรม สร้างข้อตกลง
- นักเรียนลงมือปฏิบัติวาดภาพสัญลักษณ์แทนตัวเอง
- นักเรียนอธิบายสิ่งที่ตัวเองวาด   
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม สัญลักษณ์แทนตัวเอง”
ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคนอีกครั้ง
ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
กระดาษ
ดินสอ


ชื่อกิจกรรม : ไขปริศนาหาคำตอบ
ขั้นเตรียม : ทำ Brain Gym  ง่ายๆ 3 ท่า


 
ท่านับ 1-10


ท่าแตะตามร่างกาย


ขั้นกิจกรรม : 
ครูมีคำถาม ให้พี่ๆจับฉลากแล้วก็ช่วยกันตอบคำถาม เช่น
               ถ้าคนได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี คุณจะพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนต่างๆอย่างไร 
               ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านคุณจะบริหารจัดการอย่างไร ให้เงินนั้นประโยชน์ที่สุด

 
ครูมีคำถามมาให้พี่ๆช่วยไขปริศนา

พี่พลอยจับฉลากคำถาม
คำถาม ถ้าคุณเป็นนายกรัฐมนตรี
คุณจะพัฒนาการศึกษาของประเทศอย่างไร

พี่มุกทัก: ถ้าหนูได้เป็นนายกรัฐมนตรี หนูจะพัฒนาการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศค่ะ



ขั้นจบ :

 



ครูชื่นชมความตั้งใจของพี่ๆทุกคน และขอบคุณทุกสรรพสิ่งที่อยู่บนโลกนี้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น